ประวัติบริษัท

ประวัติบริษัท

บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัท สามารถ อีซี่เปย์ จำกัด ก่อตั้งโดยบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (”SAMART”) เมื่อปี 2538 ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์หลักในขณะนั้นเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ประวัติความเป็นมาที่สำคัญของบริษัทสรุปได้ดังต่อไปนี้

ปี 2540 
  • ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่เพียงผู้เดียว
  • ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Nokia และ Siemens ในระบบ Hello 1800


ปี 2541
  • ได้รับการแต่งตั้งจาก SagemCommunication ให้เป็นผู้เทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Sagem แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
  • ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการให้บริการซ่อมและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ Nokia Sony Ericsson และ Siemens อย่างเป็นทางการ



ปี 2544 
  • ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Samsung และเป็นผู้แทนจำหน่าย เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของ Panasonic


ปี 2545 
  •  เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาทเป็น 150 ล้านบาท ในเดือนสิงหาคม 2545 เพื่อสนับสนุน และตอบสนองต่อการขยายตัวทางธุรกิจ
  •  ได้รับการแต่งตั้งจาก บมจ. ทศท และ บมจ. กสท ในนามของกิจการร่วมค้า ไทย-โมบาย ให้เป็นผู้บริหารช่องทางการจำหน่าย และการจัดการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 MHz ผู้บริหารการให้บริการลูกค้าสัมพันธ์ และจัดทำระบบจัดเก็บเงินของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 MHz


ปี 2546 
  •  เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด
  •  เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 150 ล้านบาท เป็น 320 ล้านบาท 
  •  ในเดือนสิงหาคม 2546 บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อให้สอดคล้อง กับการดำเนินธุรกิจ Mobile Multimedia แบบครบวงจร 
  •  เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญจากมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 1 บาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 110 ล้านบาท เป็น 430 ล้านบาท เพื่อนำหุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นจำนวน 110 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 110 ล้านบาท เสนอขายหุ้นกับประชาชนทั่วไป
  •  แปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และหุ้นสามัญของบริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546


ปี 2547 
  •  ขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศโดยการจัดตั้ง บริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  เพื่อลงทุนในกิจการจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมให้บริการข้อมูล สาระและความบันเทิงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และให้บริการสื่อ Interactive Multimedia ในต่างประเทศ โดยขั้นแรกจัดตั้งบริษัทในประเทศมาเลเซีย และกัมพูชา ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2547
  •  ร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านกีฬาผ่านสื่อ Interactive Multimedia เต็มรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดตั้งบริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด 


ปี 2548 
  •  ขยายบริการส่วน BUG 1113 ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้บริการเสริมต่างๆ ได้มากขึ้น และพัฒนาระบบและ Application ที่มีความซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และประสิทธิภาพในการพัฒนาและดูแล Application รวมถึงการให้บริการ  BUG 1113


ปี 2549
  •  เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จำกัด (เดิมชื่อบริษัท สามารถ อินโฟ มีเดีย จำกัด) โดยซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 96.5 เป็นร้อยละ 99.99
  •  ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 TM International Sdn Bhd. (“TMI”) บริษัทย่อยที่ถือหุ้นเต็มจำนวนโดย Telekom Malaysia Berhad (“TM”) ได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.42  จากบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้บริษัทสามารถขยายฐานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทสู่ตลาดต่างประเทศที่ TM มีโครงข่าย
  •  ขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศโดยจัดตั้งบริษัทใหม่ในประเทศอินโดนีเซียและฮ่องกง เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ  


ปี 2550 
  •  จัดตั้งบริษัท เบรนซอร์ซ จำกัด เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาระบบต่างๆ สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นเต็มจำนวน 
  •  บริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อบริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เทรด จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นเต็มจำนวน


ปี 2551 
  •  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญจากมูลค่าหุ้นละ 1 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 0.10 บาท เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการซื้อขายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากราคาหุ้นของ บริษัทอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน และเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 14 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 430 ล้านบาท เป็น 444 ล้านบาท เพื่อรองรับการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เสนอขายแก่กรรมการบริษัท และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย
  •  เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทย่อยจัดตั้งบริษัทใน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสำนักงานตัวแทนในประเทศอินเดีย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติ
  •  ในเดือนธันวาคม 2551 สายธุรกิจมัลติมีเดียได้ขยายธุรกิจสู่ตลาดโหราศาสตร์แบบครบวงจรโดยสร้างแบ รนด์ HoroWorld เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโหราศาสตร์และการพยากรณ์ รวมทั้งให้บริการด้านการเรียนการสอนในศาสตร์ดังกล่าว ให้บริการดูดวงสดแบบตัวต่อตัวที่ร้าน HoroWorld ศูนย์การค้าเอสพลานาด และผ่านเว็บแคมที่เว็บไซต์ www.HoroWorld.com


ปี 2552 
  •  ในเดือนธันวาคม 2552 ขยายสายธุรกิจให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNO) โดยบริษัทได้ซื้อบริการสำเร็จรูป (เลขหมายและ Airtime) จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อนำมาให้บริการต่อภายใต้แบรนด์ของบริษัทเอง ซึ่งบริษัทจัดจำหน่ายผ่านช่องทางร้านค้าปลีกของบริษัท ตัวแทนจำหน่าย และจัดตั้งหน่วยงานขายตรง โดยเน้นการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line เพื่อนำเสนอบริการให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการเป้าหมายให้มากที่สุด ในขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่ายมีหน้าที่ในการจัดหา SIM Card ให้กับบริษัท บริหารจัดการเครือข่าย และสนับสนุนทางธุรกิจ


ปี 2553 
  •  บันทึกความเข้าใจโครงการทดลองการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติให้ขยายระยะเวลาจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ซึ่งภายหลังจากอายุของบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับดังกล่าวหมดลงบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดและเงื่อนไขของการให้บริการรวมถึงอายุ ของสัญญาการให้บริการหลักต่อไป ทั้งนี้ เพื่อร่วมกับบริษัท และ MVNO รายอื่นๆ ในการดำเนินการให้บริการ
  •  ในเดือนพฤศจิกายน 2553 บริษัทได้ทำสัญญากับบริษัท Research in motion จัดจำหน่ายและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ BlackBerry ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ และค่าบริการเฉลี่ยรายเดือน (ARPU) ของสายธุรกิจขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNO)

ปี 2554 
  •  เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัทได้ทำสัญญาโอนสิทธิและหน้าที่ตามบันทึกความเข้าใจโครงการทดลองการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัทฉบับลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 และข้อตกลงแนบท้ายบันทึกความเข้าใจโครงการทดลองการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ให้กับบริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำกัด โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำกัดยินยอมรับโอนสิทธิหน้าที่ภาระหนี้สิน และความรับผิดชอบใดๆ ที่บริษัทมีอยู่กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามบันทึกความเข้าใจฯ ตลอดจนยินยอมผูกพันตามข้อกำหนดของ  บันทึกความเข้าใจฯ แทนบริษัททุกประการ ทั้งนี้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตกลงยินยอมให้บริษัท โอนสิทธิและหน้าที่ทั้งปวงตามบันทึกความเข้าใจฯ ให้แก่บริษัทย่อย
  • เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยมีมติอนุมัติให้บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย (ตะวันออกกลาง) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งจดทะเบียนเลิกกิจการ บริษัทย่อยดังกล่าวจดทะเบียนเลิกกิจการกับ Jebel Ali Free Zone ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554
  • เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ยกเลิกการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศอินเดียข้างต้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุน
  • เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 บริษัทได้เข้าทำสัญญากับ Dialog Axiata Plc. เพื่อร่วมดำเนินการให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (international roaming) แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนเครือข่าย TOT3G ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยมีกำหนดอายุสัญญาให้บริการร่วมเป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มนับอายุสัญญาจากวันที่ระบบสมบูรณ์พร้อมเปิดให้บริการ 


ปี 2555
  • บริษัทได้ปรับเปลี่ยนสายธุรกิจให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยรวมสายธุรกิจต่างประเทศกับสายธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากมีการลดการทำตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศซึ่งมีการแข่งขันสูง และเพิ่มสายธุรกิจการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบันให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยบริษัทได้ซื้อบริการสำเร็จรูป (เลขหมายและ Airtime) จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อนำมาให้บริการต่อภายใต้แบรนด์ i-mobile 3GX
  • เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้มีมติให้จัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อบริษัท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทรี จำกัด เพื่อทำการผลิต จำหน่ายและให้บริการข้อมูลทางด้านบันเทิง สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางโทรทัศน์ โทรศัพท์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบดาวเทียมและระบบสื่อสารต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การติดตั้งอุปกรณ์และเครือข่าย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบวงจรและบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในอัตราร้อยละ 45 และมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555


ปี 2556 
  • เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 ผู้ถือหุ้นของบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีมติพิเศษอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท เทเลคอนเนค จำกัด” โดยบริษัทย่อยได้จดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อกับ The Companies Registry เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556
  • เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ชื่อ “บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด” เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจใหม่เกี่ยวกับการประมูลและให้บริการดิจิตอลทีวีโดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 1 ล้านบาท และบริษัทย่อยถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 บริษัทย่อยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556


ปี 2557
  • เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2557 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เทค อะ ลุค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยมีมติพิเศษอนุมัติให้บริษัทเลิกกิจการ โดยบริษัทย่อยได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557 และได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557
  • บริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นโดยทางอ้อมผ่านบริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จำกัด ร้อยละ 49.99 ได้ทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 80 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 40 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 120 ล้านบาท โดยเพิ่มทุนตามสัดส่วนกับผู้ถือหุ้นอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่ต่อเนื่องกับกีฬา และคอนเทนท์กีฬาต่างๆ โดยบริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญจำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท สยามสปอร์ต เทเลวิชั่น จำกัด จากบริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งในบริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด ด้วยราคารวม 60 ล้านบาท การลงทุนครั้งนี้จะทำให้บริษัทเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายฐานรายได้ไปสู่ธุรกิจสื่อทีวี ลิขสิทธิ์กีฬา และธุรกิจที่ต่อเนื่องกับกีฬาต่างๆ รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการครบวงจรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางรายได้และกำไรในอนาคตของบริษัทโดยรวม

ปี 2558
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ไอ-สปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้มีมติอนุมัติแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. การแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามแผนของบริษัทย่อยที่จะออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

  2. การเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 120 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 12 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น160 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 16 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชน จำนวน 3 ล้านหุ้นและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม คือบริษัทฯและ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ตามสัดส่วนการถือหุ้นจำนวน 1 ล้านหุ้น นอกจากนี้ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ถืออยู่อีกจำนวน 1 ล้านหุ้น ให้แก่ประชาชนทั่วไป

  3. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญที่ตราไว้จากเดิมมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการเสนอขายหุ้นตามรายละเอียดข้างต้น

  • เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 บริษัทได้ทำสัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้ใช้บริการปลายทาง โดยบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะเริ่มให้บริการภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา โดยสัญญามีผลบังคับจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2568 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญาบริษัทมีภาระผูกพันในการชำระค่าตอบแทนการขายส่งบริการขั้นต่ำตามที่ระบุในสัญญา


ปี 2559
  • เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 บริษัทได้ร่วมลงทุนกับ บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จํากัด (PMG) ในบริษัท มอลล์ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมีสัดส่วนการลงทุนระหว่างบริษัทกับ PMG ในอัตราร้อยละ 51:49 เพื่อประกอบธุรกิจ E-Commerce โดยการเปิด E-Marketplace ภายใต้ชื่อ “Thailandmall.com” ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม 2559 บริษัทได้จำหน่ายเงินลงทุนทั้งจำนวนในบริษัทดังกล่าวให้กับบริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จํากัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งในบริษัทดังกล่าว ในราคาตามมูลค่าที่บริษัทลงทุนเป็นเงิน 15.3 ล้านบาท 
  • เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท โฟอินิแคส จำกัด จากบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ด้วยเงินลงทุน 5.6 ล้านบาท ต่อมาในวันที่ 12 มกราคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการของ บริษัท สามารถ มัลติมีเดีย จำกัด ได้อนุมัติให้จำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท โฟอินิแคส จำกัด ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาตามมูลค่าที่บริษัทลงทุนเป็นเงิน 5.6 ล้านบาท
  • เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ปิดหรือจำหน่ายบริษัทย่อยที่ไม่ได้ดำเนินกิจการ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของบริษัทในกลุ่มให้กระชับเหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยบริษัทได้ดำเนินการแล้วดังนี้
              บริษัท                                    วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัท                วันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี                  
1.  บริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 30 กันยายน 2559 28 พฤศจิกายน 2559
2.  บริษัท สามารถอินเตอร์แอคทีฟมีเดีย จำกัด 30 กันยายน 2559 28 พฤศจิกายน 2559
3.  บริษัท เดอะเนสท์บางกอก จำกัด 6 ตุลาคม 2559 29 พฤศจิกายน 2559
4.  บริษัท เบรนซอร์ซ จำกัด 29 ธันวาคม 2559 28 มีนาคม 2560
5.  บริษัท ไอ-โมบาย ไดเร็ค จำกัด 29 ธันวาคม 2559 28 มีนาคม 2560
  • เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัท ซิมทูแอซเซ็ท จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจนายหน้าตัวแทนในการรับขายฝากอสังหาริมทรัพย์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการขายฝากและซื้อฝากทรัพย์สิน ให้เกิดความสะดวก ปลอดภัยรวดเร็วและโปร่งใสเป็นธรรมแก่ทั้งเจ้าของทรัพย์สินและนักลงทุน การขายฝากเป็นธุรกรรมที่มีมานานแล้ว แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายในสาธารณะ จะทำกันในวงแคบ ซึ่งทำให้เจ้าของทรัพย์สินที่ต้องการขายฝากต้องถูกเอาเปรียบจากดอกเบี้ยและค่าปากถุงที่ผู้รับซื้อฝากเก็บไปจำนวนมาก ส่วนนักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการจะซื้อฝากทรัพย์สินก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งขายฝากอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่จะเข้าไปลงทุนได้ บริษัทได้เล็งเห็นช่องว่างในเรื่องของการขายฝากในปัจจุบัน ที่ทำกันในวงแคบ ไม่แพร่หลาย เจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนราคาถูกได้ นักลงทุนหน้าใหม่ก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งขายฝากได้เช่นกัน จึงได้จัดตั้ง บริษัท ซิมทูแอซเซ็ท จำกัด ขึ้นมาโดยให้ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้น และทำการพัฒนาระบบขายฝากออนไลน์ เจ้าแรกในประเทศไทย ในรูปแบบ Fintech Startup ให้บริการ e-Marketplace ภายใต้แบรนด์ ZAZZET (ซี แอซเซ็ท) เพื่อก้าวสู่ยุคดิจิตอล 4.0 ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่จะขายฝากและซื้อฝากได้อย่างลงตัว รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องขายฝากให้กับผู้ที่สนใจได้เข้าใจเรื่องการขายฝากมากขึ้น
  • เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 และวันที่ 30 กันยายน 2559 บริษัทได้จำหน่ายเงินลงทุนทั้งจำนวนในบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย (อินโดนีเซีย) จำกัด และบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย (มาเลเซีย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในต่างประเทศที่หยุดดำเนินการแล้ว ให้กับบุคคลภายนอกในราคาที่ตกลงร่วมกัน 

  • เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2559 ของบริษัท ไอ-โมบาย อินเตอร์เทรด จำกัด ได้มีมติพิเศษเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ซีเคียวเอเชีย จำกัด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินธุรกิจเป็นการจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมให้บริการข้อมูลและสาระความบันเทิงผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ รวมทั้งจำหน่ายสินค้าและโซลูชั่นเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล รวมทั้งชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบออนไลน์บนแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ที่เป็น Smart Device ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูล ชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าได้รับการปกป้องดูแล และยังคงเป็นความลับต่อไป ปัจจุบันด้วยระบบดิจิตอลที่โลกเชื่อมถึงกันอย่างรวดเร็ว การสื่อสารสามารถทำได้ผ่านช่องทาง Social Media ต่างๆ แต่การรักษาความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารเหล่านั้น ยังไม่เป็นที่พูดถึงมากนัก นอกจากนี้ แนวโน้มด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็มีอิทธิพลต่อกลุ่มผุ้บริโภคในประเทศไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้องติดรถยนต์ กล้อง CCTV หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเตือนเรื่องความปลอดภัยของบุตรหลานและผู้สูงอายุ  เริ่มเป็นที่ต้องการในตลาดมากยิ่งขึ้น  บริษัทจึงเห็นว่าตลาดเกี่ยวกับความปลอดภัยมีแนวโน้มที่ดี และเป็นตลาดที่มีศักยภาพ รวมทั้งเป็น Trend ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงได้เพิ่มไลน์ธุรกิจนี้ขึ้นมา โดยจะเน้นไปในเรื่องความปลอดภัยใน 3 ด้าน ได้แก่ด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความปลอดภัยของสินทรัพย์ และความปลอดภัยในชีวิต โดยเบื้องต้นบริษัทได้เริ่มพัฒนาโซลูชั่นที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางด้านข้อมูล โดยได้ร่วมมือกับบริษัท ไซเลนท์ เซอร์เคิล จำกัด ซึ่งเป็นผู้คิดค้นการเข้ารหัสด้วย ZRTP Protocol และ PGP (Pretty Good Privacy) โดย Silent Circle เป็นผู้นำด้านบริการป้องกันการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

 


ปี 2560

  • - เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยเบสสเตชั่น จำกัด จากผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวร้อยละ 100 ด้วยเงินลงทุนไม่เกิน 50 ล้านบาท บริษัท ไทยเบสสเตชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจให้เช่าพื้นที่ และให้บริการรวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารและระบบสื่อสารโทรคมนาคม  ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในบริษัท ไทยเบสสเตชั่น จำกัด กับผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาที่ตกลงร่วมกันเป็นจำนวน 50 ล้านบาท

  • - เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ยื่นหนังสือแจ้งขอยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ i-mobile 3GX ต่อบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ กสทช. เนื่องจากระบบสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3GX ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เกิดการขัดข้องบ่อยครั้ง และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ประกอบกับบริษัท  ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ขยายสถานีฐานตามแผนธุรกิจเพื่อให้มีพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี บริษัทย่อยได้เตรียมแผนการเยียวยาผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ i-mobile 3GX ไว้ตามเงื่อนไขของ กสทช. ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือถึงบริษัทย่อยเพื่อแจ้งให้ทราบถึงความเห็นชอบให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งสิ้นสุดลง รวมทั้งเห็นชอบแผนการดำเนินการเยียวยาผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ i-mobile 3GX ต่อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 บริษัทย่อยได้มีหนังสือถึง กสทช. เพื่อแจ้งยุติการให้บริการอย่างถาวรดังกล่าวในวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 ซึ่งได้ตกลงร่วมกันกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว

  • - เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 บริษัทได้เข้าทำสัญญาธุรกิจค้าร่วมชื่อ เอสไอเอสซี คอนซอร์เตียมกับบริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด เพื่อเข้าทำสัญญาเป็นพันธมิตรบริการ Digital Trunked Radio System กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (“ก.ส.ท.”) โดยบริษัทได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำกลุ่มของเอสไอเอสซี คอนซอร์เตียมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนและผูกพันในนามของเอสไอเอสซี คอนซอร์เตียมโดยสัญญามีผลบังคับนับแต่วันที่ลงนามในสัญญาฉบับนี้และจะสิ้นสุดลงเมื่อเอสไอเอสซี คอนซอร์เตียม ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาพันธมิตรกับ ก.ส.ท. ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้บริษัทผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆและชำระค่าใช้จ่ายของโครงการตามที่ระบุไว้ในสัญญาระหว่างกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 เอสไอเอสซี คอนซอร์เตียม ได้เข้าทำสัญญาความร่วมมือพันธมิตรธุรกิจ กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (“ก.ส.ท.”) เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบดิจิตอล (Digital Trunked Radio System หรือ “DTRS”) โดยสัญญาจะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 ในเดือนตุลาคม 2560 บริษัทได้เข้าทำสัญญากับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (“ก.ส.ท.”) เป็นระยะเวลาสามปี เพื่อการให้บริการขายส่งและขายต่อบริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ trunked radio ทั้งนี้บริษัทผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆและชำระค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ในสัญญา

  • - เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560 บริษัทได้มีหนังสือถึงบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)   (“ก.ส.ท.”) เพื่อแจ้งยกเลิกสัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  OPEN by i-mobile เนื่องจากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ยังคงรุนแรงและไม่มีแนวโน้มในอนาคตที่จะดีขึ้น บริษัทไม่สามารถทำตามแผนงานที่กำหนดไว้ได้และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนธุรกิจที่บริษัทกำหนดขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 และวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 บริษัทได้มีหนังสือถึง กสทช. และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการแจ้งยกเลิกสัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตปิดสัญญาณการใช้งาน OPEN by i-mobile และจัดส่งแผนการเยียวยาผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ OPEN by i-mobile เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 กสทช.ได้แจ้งให้บริษัททราบถึงผลการอนุมัติการรับคืนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ OPEN by i-mobile และให้บริษัทยกเลิกการเชื่อมต่อกับหมายเลขโทรศัพท์ในวันที่ 20 ธันวาคม 2560 โดยได้มีการตกลงร่วมกันกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แล้ว 

  • - เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2560 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติดังต่อไปนี้ 
           
          เปลี่ยนชื่อบริษัท
          มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก “บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)” เป็น “บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน)” โดยบริษัทได้จดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560

          การออกใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท
          มติอนุมัติให้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญครั้งที่ 1 จำนวนไม่เกิน 1,100,062,500 หน่วย ราคาเสนอขายหน่วยละ 0 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) ในอัตรา 4 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย  โดยใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย  สามารถซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.9 บาท ใบสำคัญแสดงสิทธิมีอายุ 5 ปี  โดยระยะเวลาใช้สิทธิซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ หลังจากนั้นสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้นได้ในวันทำการสุดท้ายของทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม

          การเพิ่มทุนของบริษัท
         มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 440 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 4,400,250,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.1 บาท) เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 990 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 9,900,562,500 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.1 บาท) โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 5,500,312,500 หุ้น มูลค่าที่ตราที่ไว้หุ้นละ 0.1 บาท ซึ่งแบ่งการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,100,062,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิดังก</